ปัญหาสุขภาพในวัยต่างๆ

จัดทำโดย

นางสาวจินต์จุฑา สุวประพันธ์ ม.5/1 เลขที่ 2
นางสาวญาณิภัค สดคมขำ ม.5/1 เลขที่ 3
นายนภัทร หลิมศิโรรัตน์ ม.5/1 เลขที่ 14
นายพสิษฐ์ สัจจมุกดา ม.5/1 เลขที่ 15
นายรัฐพงศ์ อัมไพรวรรณ ม.5/1 เลขที่ 19
นายวิศรุต นิติเรืองจรัส ม.5/1 เลขที่ 21

เสนอ


อาจารย์จัตวา อรจุล
สาขาวิชาพลานามัย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปัญหาสุขภาพวัยเด็กและวัยรุ่น
          เด็กวัยเรียนคือเด็กที่มีอายุระหว่าง 6-19 ปี ซึ่งกำลังศึกษาทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โรงเรียนเป็นที่รวมของเด็กนักเรียน ซึ่งมาจากที่ต่างๆกัน มีฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมอนามัยที่แตกต่างกันไป โรคที่พบในเด็กนักเรียนและอุบัติเหตุต่างๆ อาจเกิดขึ้นได้เสมอ หากนักเรียน ครู และบุคลากรในโรงเรียนทราบแนวทางปฏิบัติต่างๆ ในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยและการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว ก็สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันให้ปลอดภัยได้
จากการสำรวจโดยกองอนามัยโรงเรียน เมื่อ พ.ศ.2529 พบว่าปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียนส่วนใหญ่เป็นโรคฟันผุ เหา หวัด ขาดสารอาหาร กลาก เกลื้อน แผลพุพอง หิด หูน้ำหนวก เยื่อบุตาอักเสบหรือตาแดง แต่ในปัจจุบัน ข้อมูลสถานการณ์ด้านสุขภาพของกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
ในระดับทั่วโลกพบว่า
 • การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ คือสาเหตุสำคัญของการตายในประชากรวัยรุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตาย เนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในกลุ่มวัยรุ่นชาย อัตราการฆ่าตัวตายในกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มขึ้นถึง 100,000 รายต่อปี
 • การสูบบุหรี่มวนแรกโดยทั่วไปจะเริ่มจากวัยรุ่น และครึ่งหนึ่งของผู้ที่หัดสูบบุหรี่เมื่อยังเป็นวัยรุ่นและสูบต่อเนื่องมาจนตลอดชีวิตมักจะตายจากบุหรี่
ที่มา: http://l.facebook.com/l.php?u=http%3A%2F%2Ffanthai.com%2Fwp-content%2Fuploads%2F2013%2F08%2F1010015_475109719240757_1716439673_n.jpg&h=sAQH5EKPs

ข้อมูลประเทศไทย
จากการศึกษาโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อปี พ.ศ.2544 ได้รายงานว่า ประชากรกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน (6 - 21 ปี) มีจำนวน 17.022 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 27.4 ของประชากรทั้งประเทศ จำนวนวัยรุ่น อายุระหว่าง 15 - 24 ปี 10.62 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.1 ของประชากรทั้งประเทศ สถานการณ์ด้านสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นโรคต่าง ๆ ดังนี้
     
1. ภาวะการเจริญเติบโตบกพร่อง
จากการเฝ้าระวังภาวะการเจริญเติบโตของส่วนอนามัยเด็กวัยเรียนและเยาวชน สำนักส่งเสริม สุขภาพ กรมอนามัย ในกลุ่มเด็กประถมศึกษาและมัธยมศึกษา พบนักเรียนประถมศึกษาที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์สูงกว่าร้อยละ 10 ส่วนนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ พบว่าลดลงเรื่อยๆ และต่ำกว่า ร้อยละ 10 สำหรับนักเรียนประถมศึกษาในเขตเมืองที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ พบว่ามีถึงร้อยละ 15.4 ในปี 2541 และร้อยละ 13.6 ในปี 2543
2. ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
จากการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคโลหิตจาง โดยการเสริมยาเม็ดธาตุเหล็กสัปดาห์ละ 1 เม็ด ของกรมอนามัย รวมทั้งการให้เด็กนักเรียนและเยาวชนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีธาตุเหล็กสูง ทำให้พบว่าภาวะโลหิตจางในกลุ่มนักเรียนมีแนวโน้มลดลง จากร้อยละ 14.6 ในปี 2538 เป็นร้อยละ 5.99 ในปี 2543
3. ภาวะการขาดสารไอโอดีนแสดงออกด้วยอาการคอพอก
นักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะการขาดสารไอโอดีนแสดงออกด้วยอาการคอพอก
4. ปัญหายาเสพติด
           ปัจจุบันเด็กและเยาวชนเริ่มใช้ยาเสพติดเมื่ออายุน้อยลงวัยรุ่นคือกลุ่มเสี่ยงที่สุด พบสาเหตุ ส่วนใหญ่อยากลองและเพื่อนชวน แนวโน้มฝิ่น กัญชา ลดลง ยาบ้าเสพเพิ่ม ขึ้น ผลตรวจปัสสาวะ นักเรียนระบุชัด ภาคกลางเสพมากที่สุด ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหายาเสพติดมาช้านานโดยที่ สภาพปัญหาได้เปลี่ยนแปลงไปตามภาวะการณ์ของโลกในยุคปัจจุบันได้แก่ เทคโนโลยีใหม่ ๆ การ ติดต่อสื่อสารที่ทันสมัยและรวดเร็วมากขึ้น ทำให้ผู้เสพสามารถใช้สารเสพติดได้ง่ายและสะดวกกว่า ในอดีตกาลที่ผ่านมา รวมทั้งสภาพปัญหาได้เปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิต สังคม เศรษฐกิจ


ที่มา: https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fencryptedtbn1.gstatic.com%2Fimages%
3Fq%3Dtbn%253AANd9GcRTLpag9-ZKLJ5fT5KObRiq5JPjdH4uFIfuk_4kL9sxK9USJdXlwqrJD4h&h=sAQH5EKPs
     
5. ภาวะทันตสุขภาพ
5.1 โรคฟันผุ จากรายงานผลการสำรวจ สภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ โดยกองทันตสาธารณสุขปี
พ.ศ. 2537 พบอัตราโรคฟันผุในนักเรียนเพิ่มมากขึ้นตามอายุ ซึ่งผลการสำรวจพบว่าอัตราฟันผุในฟันน้ำนมของ นักเรียนกลุ่มอายุ 3 ปี จะน้อยกว่ากลุ่มอายุ 6 ปี และในทำนองเดียวกัน นักเรียนกลุ่มอายุ 12 ปี จะมีอัตรา ฟันผุของฟันแท้น้อยกว่านักเรียนกลุ่มอายุ 17 - 19 ปี
5.2 โรคเหงือก ผลการสำรวจในปี 2537 พบว่าเด็กอายุ 12 ปีที่ไม่มีเหงือกอักเสบ ร้อยละ 24.7 ผลการสำรวจในปี 2542 พบว่า เด็กอายุ 12 ปี ที่ไม่มีเหงือกอักเสบ ร้อยละ 76.8
6. ความผิดปกติที่พบเสมอในเด็กนักเรียน
6.1 ความผิดปกติของอวัยวะการเรียนรู้ มีนักเรียนสายตาผิดปกติร้อยละ 4.3 โดยเฉพาะ กรุงเทพมหานคร นักเรียนมีสายตาผิดปกติมากที่สุดถึงร้อยละ 12.3 การได้ยินผิดปกติพบปัญหามากที่สุดในกรุงเทพมหานคร
6.2 โรคที่เป็นผลจากสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี โรคเหา เกลื้อน กลาก
7. ภาวการณ์เจ็บป่วย
7.1 โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในปี พ.ศ. 2540 เด็กวัยเรียน (5 - 14 ปี ) เป็นโรคไอกรน โรคคางทูม โรคหัด และคอตีบ สัดส่วนร้อยละ 67.57, 58.20, 54.88 และ 37.84
7.2 โรคติดเชื้อ โรคติดต่อที่พบมากที่สุดในเด็กวัยเรียน (5 - 14 ปี) ในปี พ.ศ. 2540 คือ ไข้เลือดออก รองลงมาคือ ไข้สมองอักเสบ และโรคมาลาเรีย มีสัดส่วนร้อยละ 67.66, 37.95 และ 18.92 สำหรับโรคอุจจาระร่วง พบร้อยละ 10.37
8. ภาวะพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น
อุบัติเหตุ ในปีหนึ่ง ๆ มีวัยรุ่นตายด้วยอุบัติเหตุต่าง ๆ ประมาณ 3,000 ราย ในจำนวนนี้ จะเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 7 เท่า นอกจากนี้ยังพบว่าวัยรุ่นมากกว่าร้อยละ 50 ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะใช้รถจักรยานยนต์ และมีวัยรุ่นน้อยกว่าร้อยละ 10 ที่คาดเข็มขัดนิรภัยขณะใช้รถยนต์ รถยนต์ ส่วนอัตราตายของเด็กและเยาวชนด้วยอุบัติเหตุจากการขนส่งทางบก มีจำนวนสูงขึ้น
9. เรื่องเพศและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ /HIV/ เอดส์
- ผู้ป่วยเอดส์ อายุ 20 - 24 ปี ร้อยละ 3.9 ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ ( ร้อยละ 83.4) ( กองโรคเอดส์ , 2544)
- เด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 25 ปี ไปรับการตรวจกามโรค ร้อยละ 37 ของผู้ไปรับการตรวจทั้งหมดทั่วประเทศ กลุ่มที่ไปตรวจมากที่สุดคืออายุ 20 - 24 ปี
- เด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 25 ปี ป่วยเป็นกามโรค ร้อยละ 29 ของผู้ป่วยทั้งหมดทั่วประเทศ
(ข้อมูลตั้งแต่ ตุลาคม 2543 - กันยายน 2544)
- เด็กและวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 25 ปี ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ จำนวน 23,521 คนคิดเป็นร้อยละ 12.5 ของผู้ติดเชื้อที่มีอาการทั้งหมด จำนวน 187,937 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2545)
- การทำแท้งประมาณร้อยละ 46 ของการทำแท้งทั้งหมดเป็นสตรีอายุต่ำกว่า 25 ปี
และร้อยละ 30 เป็นสตรีวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ( กองวางแผนครอบครัวและประชากร , 2543)

10. ปัญหาสุขภาพจิต
        จากการสำรวจสภาวะสุขภาพของประชาชน ของสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย พบว่าเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เกเร ร้อยละ 10.7 มีการทะเลาะเบาะแว้งและใช้ความรุนแรงในครอบครัว ร้อยละ 10.5 เด็กวัยเรียนร้อยละ 6.7 เคยถูกทำร้ายจากคนในครอบครัวร้อยละ 0.2 เคยถูกล่วงเกินทางเพศจากบุคคลในครอบครัว ร้อยละ 0.3 สงสัยว่าใช้สารเสพติด สำหรับผู้ป่วยในจิตเวชของหน่วยงานสังกัดกรมสุขภาพจิต พบว่า สัดส่วนของจำนวนผู้ป่วยในจิตเวชที่เป็นเด็กและวัยรุ่นเปรียบเทียบกับผู้ป่วยในจิตเวชทั้งหมด ระหว่างปี 2539 - 2541 มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 32.68 (ปี 2539) เป็นร้อยละ 11.07 (ปี 2540) และร้อยละ 12.96 (ปี 2541)
 
ที่มา: https://l.facebook.com/l.php?u=https%3A%2F%2Fencryptedtbn3.gstatic.com%2Fimages
%3Fq%3Dtbn%253AANd9GcSEb6VYv4TvaRYm4_X6sD_SOGafUXLADiHOwV5vmp4XDrUUO4kd6Tz-t6bC&h=sAQH5EKPs

จะเห็นว่าจากกระแสโลกาภิวัฒน์ เนื่องมาจากการเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญส่งผลต่อสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้วิถีชีวิตของเด็กวัยเรียนและเยาวชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ที่สำคัญมีผลต่อพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนทำให้เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จากกระแสค่านิยมและวัฒนธรรมตะวันตก นำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ทั้งต่อตัวเด็ก ครอบครัว สังคมแวดล้อมภายในและภายนอกโรงเรียน สภาพปัญหาของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน เช่น ปัญหายาเสพติด ตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ เพื่อน เอดส์ เพศสัมพันธ์ สุขภาพ จริยธรรม อุบัติเหตุ สื่อยั่วยุ สิ่งแวดล้อม

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพและความปลอดภัยในเด็กปฐมวัยได้อย่างไร ???

บ้านคือหัวใจสำคัญสำหรับเด็กในช่วงปฐมวัย ผู้ปกครองย่อมประสงค์ให้บ้านเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดีของลูก ทั้งนี้ผู้ปกครองสามารถทำบ้านให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของลูกได้ และยังสามารถสนับสนุนการมีสุขภาพและความปลอดภัยให้แก่ลูกได้อย่างเต็มที่ ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ ประกอบอาหารที่สะอาดและมีสารอาหารครบถ้วนให้แก่ลูก ฝึกให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักและผลไม้ เพราะหากลูกสามารถรับประทานผักและผลไม้ได้ตั้งแต่ยังเล็ก ย่อมเป็นหลักประกันว่าลูกจะไม่เลือกทานเฉพาะเนื้อสัตว์ และจะได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ต่อไปในอนาคต หากครอบครัวมีข้อจำกัดทางการเงิน และไม่สามารถให้ลูกรับประทานเนื้อสัตว์ได้บ่อยเท่าที่ควร ควรหาอาหารโปรตีนสูงประเภทอื่น ควรมีการส่งเสริมการมีสุขภาพดีของทุกคนในครอบครัว โดยการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งร่วมกัน รวมถึงไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
สมาชิกในครอบครัวไม่ควรสูบบุหรี่ในขณะที่อยู่ใกล้เด็ก เพราะอาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายในตัวเด็ก รวมถึงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ขาดสติ และก่อความรุนแรงแก่เด็กได้ สร้างสิ่งแวดล้อมทั้งในบ้านและนอกบ้านให้ปลอดภัย โดยการจัดบ้านให้เป็นระเบียบ กล่าวคือ เก็บอุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็ก อันได้แก่ อุปกรณ์ทำความสะอาดโดยเฉพาะที่อาจเป็นพิษต่อร่างกาย มีดและของมีคมให้พ้นจากมือเด็ก หรือปิดประตูห้องน้ำทุกครั้งหลังใช้งาน
สร้างกิจวัตรที่ส่งเสริมความสะอาดและปลอดภัยให้กับลูก เช่น เลือกใช้ถุงมือหรือผ้ากันเปื้อนแบบที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เลือกใช้ถังขยะที่เหมาะสมสำหรับขยะอันตราย และแยกให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพอย่างแท้จริง


ปัญหาสุขภาพในวัยทำงาน

เดือนกันยายน ปีพ.ศ. 2556 ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ชี้ว่า มีผู้ที่มีอายุเกิน15 ปีและพร้อมที่จะใช้แรงงานหรือพร้อมที่จะทำงานจำนวน 39.32 ล้าน แบ่งเป็นผู้มีงานทำจำนวน 39.ล้านคน และผู้ว่างงาน จำนวน 2.64 แสนคน ในวัยทำงานนั้นย่อมมีความเสี่ยงต่อภาวะโรคต่างๆจากการทำงาน การทำงานนั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันซึ่งส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย และจิตใจของคนในวัยทำงาน เช่น พฤติกรรมการกิน การพักผ่อน และการออกกำลังกาย กรมอนามัยได้เปิดเผย 10 โรคร้ายที่คนในวัยทำงานมีโอกาสเสี่ยง
1.       โรคอ้วน เกิดจากการกินอาหารที่มีส่วนประกอยของน้ำตาลมากเกินไปและขาดการออกกำลังกาย
2.      โรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ซึ่งเป็นผลมาจากโรคอ้วน
ที่มา: step-bet.com
3.       โรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพะในเพศหญิงจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก
4.      

โรคจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เช่น มะเร็งปอด ตับแข็ง และโรคหลอดเลือดในสมองตีบ
ที่มา: http://rednow.in.th
5.      
โรคเครียด จากการทำงานจึงทำให้เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
ที่มา: http://manager.in.th
6.       โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
7.       ภาวการณ์มีบุตรยาก
8.       การทำแท้ง ซึ่งนำมาซึ่งการติดเชื้อต่างๆได้โดยง่าย จากข้อมูลพบว่าการทำแท้งร้อยละ 71 มาจากการตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจ และร้อยละ 56 มาจากการไม่ป้องกันขณะมีเพศสัมพันธ์
9.       ภาวะความเสี่ยงจากที่ทำงาน เช่น โรคทางเดินหายใจ และพิษจากโลหะหนัก
10.   อุบัติเหตุบนท้องถนน

ที่มา: http://thaihealth.in.th

ปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ


จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงระยะเวลาปี 2553 ซึ่งโรคในผู้สูงอายุนั้นเป็นไปตามความเสื่อมโทรมของร่างกาย และความเครียดที่สะสมประกอบกับจำนวนผู้สูงอายุที่มีมาก ภาระหนักจึงตกอยู่กับระบบสาธารณสุข โดยปัญหาสุขภาพโอยรวมของผู้สูงอายุ มีดังนี้ ปัญหาความจำสับสนหรือสูญเสียความทรงจำ ปัญหาการได้ยิน ปัญหาการเคลื่อนไหวร่างกาย ปัญหานอนไม่หลับ ปัญหาการกลั้นขับถ่ายไม่อยู่ และปัญหาสุขภาพที่ผู้สูงอายุมีมากที่สุด 5 อันดับแรกมีดังนี้
เพศชาย
1.       โรคหลอดเลือดสมอง
2.       โรคหลอดเลือดหัวใจ
3.       ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง
4.       โรคเบาหวาน
5.      โรคมะเร็งตับ
เพศหญิง
1.       โรคหลอดเลือดสมอง
2.       โรคเบาหวาน
3.       โรคหลอดเลือดหัวใจ
4.       โรคสองเสื่อม
5.       ภาวะซึมเศร้า




ปัจจัยกำหนดสุขภาวะหรือความมีสุขภาพดี (Health determinants)

             
              ปัจจัยกำหนดสุขภาวะหรือความมีสุขภาพดีขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลักๆ 4 ด้าน คือด้านบุคคล สังคม สิ่งแวดล้อมและระบบการบริการสุขภาพ ซึ่งจำแนกรายละเอียดได้ดังนี้
1.         Income and Social Status : สถานะทางสังคมและภาวะเศรษฐกิจซึ่งทำให้บุคคลมีความสามารถในการดุแลตนเองและแสวงหาบริการสุขภาพที่เหมาะสมได้
2.         Social Support Networks : การมีเครือข่าย มีความปฏิสัมพันธ์ในสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัว หน่วยงาน หน่วยงานอื่นและชุมชน ในลักษณะเชิงบวกย่อมเกิดผลดีต่อสุขภาพ
3.         Education and Literacy : การศึกษา เป็นปัจจัยที่ทำให้บุคคลเรียนรู้การดูแลสุขภาพของตนเองและสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อสุขภาพ
4.     Employment  Working Conditions : การทำงาน ลักษณะอาชีพและสิ่งแวดล้อมของสถานที่ทำงานมีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของผู้ทำงาน
5.     Social Environment : สิ่งแวดล้อมทางสังคมรวมถึงครอบครัว ชุมชนและระบบสังคมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
6.     Physical Environment : สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น
7.     Personal Health Practices and Coping Skill : งานอดิเรก การใช้เวลาว่าง การพักผ่อน การผ่อนคลายที่ถูกต้องเหมาะสมย่อมส่งผลดีต่อภาวะสุขภาพ
8.      Health Child Development : พัฒนาการในวัยเด็กมีผลต่อภาวะสุขภาพจนถึงวัยสูงอายุย่อมทำให้การดูแลสุขภาพแตกต่างกัน
9.      Biology and Genetic Endowment : ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ทั้งด้านบิดาและมารดา  ทำให้ได้รับการถ่ายทอดโรคบางอย่างที่ส่งผลต่อสุขภาพของบุคคลได้
10.   Health Services : การใช้บริการสุขภาพ
11.   Gender : เพศภาวะ เช่น เพศหญิงมักจะมีอายุขัยเฉลี่ยสูงกว่าเพศชายเป็นต้น
  Culture : ประเพณี วัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อ ค่านิยมของบุคคลในแต่ละท้องถิ่นที่มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคได้
ปัจจัยกำหนดสุขภาวะ (สุวิทย์ วิบุลผลประดิษฐ์, 2545)


อ้างอิง


-          https://tamanee.wordpress.com/2010/08/08/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99/

http://www.thaihealth.or.th/
https://www.hfocus.org/
https://www.dmh.go.th/
https://www.bumrungrad.com
http://www.scc.ac.th/student